ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
ค้นหาสินค้า


  [Help]
dot
dot
รายการสินค้า
dot
dot
dot
+ SoundVision
bullet+ SoundVision
bullet+ QSC
bullet+ YAMAHA
bullet+ Behringer
bullet+ BOSCH
bullet+ TOA
bullet+ DBX
bullet+ Behringer
bullet+ DBX
bullet+ Behringer
bullet+ ORG
bullet+ Behringer
bullet+ DBX
bullet+ QSC
bullet+ YAMAHA
bullet+ BOSCH
bullet+ Behringer
bullet+ TOA
bullet+ INTER-M
bullet+ ITC Audio
bullet+ NPE
power mixer
bullet+ YAMAHA
bullet+ Behringer
bullet+ NPE
bullet+ TASCAM
bullet+ NPE
bullet+ TOA
bullet+ BOSCH
bullet+ ITC Audio
bullet+ TANNOY
bullet+ INTER-M
bullet+ BOSE
bullet+ TOA
bullet+ YAMAHA
bullet+ Behringer
bullet+ QSC
bullet+ PS Audio
bullet+ Tannoy
bullet+ ITC Audio
bullet+ QUEST
bullet+ BOSE
bullet+ Turbosound
bullet+ TOA
bullet+ INTER-M
bullet+ ITC Audio
bullet+ DIS
bullet+ BOSCH
bullet+ TOA
bullet+ Audio-technica
bullet+ SHURE
bullet+ Beyerdynamic
bullet+ Sennheiser
bullet+ RODE
bullet+ TOA
bullet+ BOSCH
bullet+ NPE
bullet+ Audio-technica
bullet+ TOA
bullet+ Sennheiser
bullet+ SHURE
bullet+ NTS
bullet+ SHERMAN
bullet+ YAMAHA
bullet+ DECCON
bullet+ BIK , XXL Power
bullet+ YANMAI
bullet+ Podium (โพเดี้ยม)
bullet+ TOA
bullet+ JEC
bullet+ SHOW
bullet+ TOA
bullet+ OKAYO
bullet+ Mipro
bullet+ SONY-Mini-HiFi
bullet+ CREATIVE SPEAKER
bullet + Switcher VGA HDMI
bullet+ SCREEN (จอภาพ)
bullet+ Projector (เครื่องฉายภาพ)
bullet+ Attenuator,Volume
bullet++ TOA Volume,Attenuator
bullet++ BOSCH Volume,Attenuator
bullet+ Zone Selector
bullet+ Weekly Program Timer
bullet+ Digital IP Network
bullet+ Interface-Monitor-Signal
bullet+ Measurement (เครื่องมือวัด)
bullet+ UPS ( เครื่องสำรองไฟฟ้า )
bullet+ Headphone (หูฟัง)
bullet+ DVD,CD,TUNER
bullet+ speaker Stand(ขาตั้งลำโพง)
bullet+ CABLE (สายไฟ,สายสัญญาณ)
bullet+ Connector (หัวแจ๊ค,ขั้วต่อ)
bullet+ Rack - Case
bulletKARAOKE




เทคนิคการเลือกตู้ลำโพงให้ได้เสียงและคุณภาพที่ดี

เทคนิคการเลือกตู้ลำโพงให้ได้เสียงและคุณภาพที่ดี

วิธีการเลือกตู้ลำโพงให้ได้เสียงที่ดี มีคุณภาพ และเหมาะกับชุดเครื่องเสียง

 

ตู้ลำโพง

 

เป็นที่ทราบกันดีในวงการของนักเล่นเครื่องเสียง คนที่ชอบฟังเพลง ศิลปิน นักแต่งเพลง หรือคนที่หลงใหลในอรรถรสของเสียงเพลง ตู้ลำโพงส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของเสียงที่ออกมา แบรนด์เครื่องเสียงต่าง ๆ ต่างแข่งกันพัฒนาเทคโนโลยีของตู้ลำโพง เพื่อให้ได้เสียงคุณภาพดี ในราคาที่ทุกคนจับต้องได้ เพราะแบรนด์เหล่านี้ต้องการถีบตัวเองให้ห่างจากคู่แข่งทางการตลาด 

การฟังเพลงนั้นมีส่วนผสมของทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ไม่ว่าจะชุดเครื่องเสีย หรือตู้ลำโพง ต่างก็เป็นแค่เครื่องมือในการนำพาเพลงไปสู่ผู้ฟัง ฉะนั้นเครื่องมือที่ถือว่าเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้ฟังกับเสียงเพลงนั้น ต้องอาศัยเครื่องมือที่ได้คุณภาพ เพลงที่ฟังถึงจะได้อรรถรสเต็มที่ การที่จะหาซื้อชุดเครื่องเสียสักชุดมาไว้ที่บ้าน ไม่ใช่แค่ไปถึงร้านแล้วซื้อเลย มันต้องมี “ศิลปะ” ในการเลือกชุดเครื่องเสีย ต่อไปนี้เป็นเทคนิคในการเลือกซื้อชุดเครื่องเสีย และตู้ลำโพงที่เรานำมาฝากกัน

 

ตู้ลำโพงมีกี่ประเภท

ตู้ลำโพงหรือดอกลำโพง มีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ แม้ว่าจำนวนตัวเลือกในตลาดทั้งบ้านเราและฝั่งเพื่อนบ้านจะมีเยอะจนน่ากลัว เราจะมาจำกัดตัวเลือกให้คุณสามารถเลือกได้ง่ายขึ้น 
1. ฟูลเรนท์ (Full Range) - สามารถครอบคลุมย่านความถี่เสียงได้กว้างที่สุด หรือสามารถให้เสียง

ได้ครบทุกช่วงเสียง ทั้งสูง กลาง ต่ำ ในดอกเดียวกัน

2. ซับวูฟเฟอร์ (Subwoofer) - เป็นตู้ลำโพงที่ตอบสนองย่านความถี่ช่วง 20-200 Hz และยังอาจมีเป็นย่านความถี่ Deep Low หรือประมาณต่ำกว่า 50 Hz ลงไป ซึ่งเป็นย่านของเสียงเบสที่ลึกมากโดยเฉพาะ 30-20 Hz ลงไปจนต่ำสุด ที่หูของคนไม่สามารถฟังได้

3. มิดเรนจ์ (Mid Range) - ตู้ลำโพงชนิดนี้ตอบสนองย่านความถี่กลางสูง ประมาณ 130-5,000 Hz 

จะคล้ายกับลำโพงวูฟเฟอร์ แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า

4. ทวิตเตอร์ (Tweeter) - เป็นตู้ลำโพงชนิดพิเศษ ใช้ในย่านเสียงแหลม ที่ออกแบบมาเพื่อให้มีความถี่

เสียงสูง 2,000-20,000 Hz ถือเป็นความถี่สูงสุดที่คนจะสามารถรับรู้ได้

5. โคแอกเชียล (Cozxial) - เป็นการผสมกันระหว่างตู้ลำโพง Tweeter และ Mid- range ผสมอยู่ใน

ดอกเดียวกัน ทำให้เสียงมีความชัดเจนมากเพราะพุ่งออกมาจากจุดเดียวกัน 

นอกจากประเภทของตู้ลำโพงที่แยกประเภทตามการขยายเสียงแล้ว ยังสามารถแยกประเภทการใช้งานของตู้ลำโพงได้อีก 3 ประเภท

1. ตู้ลำโพงตั้งพื้น

ตู้ลำโพงประเภทตั้งพื้น มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกขนาดลำโพงให้เหมาะกับพื้นที่ในห้องของเราได้ และตู้ลำโพงแบบตั้งพื้นนี้ นับว่าเป็นลำโพงที่ให้คุณภาพเสียงที่เยี่ยมยอด 

2. ลำโพงชั้นวางหนังสือ 

เป็นตู้ลำโพงที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก สามารถนำไปตั้งไว้บนชั้นวางหนังสือ ชั้นวางของ หรือด้านบนตู้โชว์ได้ มีหลายขนาดให้เลือก ขึันอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้งานที่ใด เช่น ถ้าเป็นห้องนอน ควรเลือกตู้ลำโพงชั้นวางหนังสือสำหรับห้องนอน หรือคอนโดที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัด 

3. ลำโพงติดผนัง

ลำโพงติดผนัง เหมาะสำหรับระบบเสียงประกาศ ห้องประชุม สัมมนา ร้านอาหาร ศูนย์การค้า พลาซ่า โรงแรม ร้านกาแฟ ฯลฯ โดยมีหลายขนาดให้เลือกตามความใหญ่ของสถานที่ เหมาะกับงานเวิร์คช้อป ประชุม สัมมนา เป็นต้น

4. ตู้ลำโพงโฮมซีเนม่า

สำหรับใครที่อยากจะมีโรงหนังส่วนตัวในบ้าน ตู้ลำโพงแบบโฮมซีเนม่าเหมาะกับเป็นอย่างมาก การติดตู้ลำโพงแบบโฮมซีเนม่าจะช่วยเพิ่มอรรถรสในการดูหนังมากยิ่งขึ้น โดยลำโพงประเภทนี้มักจะมาในรูปแบบติดผนัง เชื่อมต่อกับทีวี เหมาะกับห้องที่มีพื้นที่ขนาดกลาง เราสามารถเลือกติดลำโพงได้หลายตัวในห้อง เพื่อให้ระบบเสียงทำงานแบบในโรงหนัง 

สำหรับคนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้อินในเรื่องชุดเครื่องเสียในบ้าน มักจะไม่ได้สนใจว่าชุดเครื่องเสียที่ซื้อมานั้น มันเหมาะสมกับขนาดของห้อง หรือบริเวณที่เราจะใช้ตั้งชุดเครื่องเสียและตู้ลำโพงหรือไม่ ขนาดพื้นที่ที่แตกต่างกันมีผลกับเสียงที่ออกมา ดังนั้นการเลือกตู้ลำโพงจึงมีความจำเป็นที่เราต้องดูพื้นที่ของห้องที่เราจะติดตั้งชุดเครื่องเสียด้วย 
• ห้องที่มีความกว้าง 1-3 ตร.ม.

พื้นที่ห้องขนาดนี้ถือว่าเป็นห้องขนาดเล็ก การเลือกตู้ลำโพงจึงต้องเลือกลำโพงที่ไม่ใหญ่มาก เช่น ดอกลำโพงขนาด 3 นิ้ว ก็สามารถให้คุณภาพเสียงดังที่พอดีกับขนาดห้องได้แล้ว ส่วนระดับกำลังวัตต์ที่เหมาะกับขนาดห้องเท่านี้ควรจะมีกำลังวัตต์ตั้งแต่ 10 วัตต์ขึ้นไป

• ห้องขนาด 6-25 ตร.ม.

พื้นที่ห้องประมาณนี้ถือว่าเป็นห้องขนาดกลาง ๆ เช่น คอนโด หรือหอพักทั่ว ๆ ไป การเลือกตู้ลำโพงให้ห้องขนาดกลางแบบนี้ ควรเน้นที่กำลังวัตต์ที่ไม่ต่ำกว่า 20 วัตต์ ดอกลำโพงขนาด 4 นิ้ว ดูแล้วลงตัวที่สุดกับห้องขนาดเท่านี้ 

• ห้องที่มีขนาด 20-40 ตร.ม.

พื้นที่ห้องนี้ถือว่าเป็นห้องขนาดใหญ่ เช่น บ้านพักส่วนต้ว ตู้ลำโพงที่เหมาะกับห้องใหญ่ ๆ แบบนี้ ควรเลือกตู้ลำโพงที่มีขนาด 5-6 นิ้ว เพราะจะช่วยให้เสียงของเครื่องดนตรีมีความสมจริงมากขึ้น กำลังวัตต์ที่เหมาะกับห้องใหญ่แบบนี้ประมาณ 40 วัตต์ขึ้นไป 

• ห้องที่มีขนาด 30-50 ตร.ม.

เป็นพื้นที่ที่มาขนาดใหญ่มาก มักจะเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก หรือห้องโฮมเธียเตอร์ ตู้ลำโพงที่เหมาะกับขนาดพื้นที่ขนาดนี้ควรจะเริ่มที่ตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป กำลังวัตต์ประมาณ 120 วัตต์ขึ้นไปถึงจะเหมาะกับการใช้งานในห้องนี้ 

 

และที่ลืมไม่ได้ในการเลือกซื้อตู้ลำโพงคือ งบประมาณและตัวแทนจำหน่ายที่ได้มาตรฐาน ทำไมถึงเอาสองอย่างนี้มาอยู่ด้วยกัน นั่นเป็นเพราะว่าหากเราเลือกตัวแทนจำหน่ายที่ได้มาตรฐาน มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องระบบเสียง ทางร้านจะสามารถแนะนำตู้ลำโพงและชุดเครื่องเสียที่มีคุณภาพ ให้เหมาะกับความต้องการในการใช้งาน สถานที่และอยู่ในงบประมาณที่เราตั้งเอาไว้ได้ อย่างเช่นที่ Audio2home เราเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องเสียงแบรนด์ชั้นนำมากมาย เช่น ลำโพง TOA, ลำโพง Bosch, Mixer Yamaha พร้อมอุปกรณ์เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ เช่น เพาเวอร์แอมป์ มิกเซอร์ ไมโครโฟนไร้สายไมค์ประชุม ระบบเสียงประกาศ เป็นต้น

 

เรามีบริการจากผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา แนะนำลูกค้าในเรื่องการเลือกชุดเครื่องเสียให้เหมาะกับการใช้งานและอยู่ในงบประมาณที่ลูกค้าตั้งเอาไว้ หากสนใจรายละเอียดอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งสอบถาม และเช็คราคา ได้ที่ที่ www.audio2home.com 

 

ตู้ลำโพงที่ดีคือตู้ลำโพงที่ส่งเสียงออกมาไม่ผิดเพี้ยน มีความกลมกล่อมของเสียงในทุก ๆ ด้าน หากเราจะลงทุนซื้อชุดเครื่องเสียและตู้ลำโพงมาไว้ที่บ้านสักชุด แนะนำว่าจะเสียเงินทั้งที ให้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำสิ่งดี ๆ ที่เหมาะกับเราจะดีและคุ้มค่าที่สุด


ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อรับโปรโมชั่นสุดพิเศษจากเราได้ที่

Tel : 02-996-4400, 02-107-5018, 081-642-1188

Email : sale@thetrons.co.th

LINE : @audio2home

Facebook : audio2home




บทความระบบเสียง

ประโยชน์ และข้อดีของตู้ลำโพง ที่คุณอาจไม่เคยรู้!
เทคนิคการเลือกชุดเครื่องเสียง ในราคาที่เหมาะสมกับการใช้งาน
ระบบเสียงประกาศ กับเรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้!
เทคนิคการใช้ Mixer YAMAHA อย่างมืออาชีพ
ข้อแตกต่างของชุดเครื่องเสียงห้องประชุมและชุดเครื่องเสียงกลางแจ้ง
รู้ก่อนซื้อ… เลือกโปรเจคเตอร์อย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน
ไมค์ประชุมมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีคุณภาพ และรูปแบบการรับเสียงอย่างไร
อัพเดตเทคโนโลยี ชุดเครื่องเสียง เจ๋ง ๆ ของยุคนี้!
พาส่องเทคโนโลยีใหม่ๆในเพาเวอร์แอมป์
ชุดเครื่องเสียงแบบไหนถูกใจเหล่ามือโปร
ทำความรู้จัก ชุดเครื่องเสียง เบื้องต้นสำหรับมือใหม่
TOA Incentive Award 2017
เครื่องขยายเสียง (Amplifier) หนึ่งในชุดเครื่องเสียงสุดฮิต
การเข้าสายสัญญาณภาพ VGA
การเข้าสายสัญญาณ XLR,Jack1/4




Copyright © 2015 All Rights Reserved.