ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
ค้นหาสินค้า


  [Help]
dot
dot
รายการสินค้า
dot
dot
dot
+ SoundVision
bullet+ SoundVision
bullet+ QSC
bullet+ YAMAHA
bullet+ Behringer
bullet+ BOSCH
bullet+ TOA
bullet+ DBX
bullet+ Behringer
bullet+ DBX
bullet+ Behringer
bullet+ ORG
bullet+ Behringer
bullet+ DBX
bullet+ QSC
bullet+ YAMAHA
bullet+ BOSCH
bullet+ Behringer
bullet+ TOA
bullet+ INTER-M
bullet+ ITC Audio
bullet+ NPE
power mixer
bullet+ YAMAHA
bullet+ Behringer
bullet+ NPE
bullet+ TASCAM
bullet+ NPE
bullet+ TOA
bullet+ BOSCH
bullet+ ITC Audio
bullet+ TANNOY
bullet+ INTER-M
bullet+ BOSE
bullet+ TOA
bullet+ YAMAHA
bullet+ Behringer
bullet+ QSC
bullet+ PS Audio
bullet+ Tannoy
bullet+ ITC Audio
bullet+ QUEST
bullet+ BOSE
bullet+ Turbosound
bullet+ TOA
bullet+ INTER-M
bullet+ ITC Audio
bullet+ DIS
bullet+ BOSCH
bullet+ TOA
bullet+ Audio-technica
bullet+ SHURE
bullet+ Beyerdynamic
bullet+ Sennheiser
bullet+ RODE
bullet+ TOA
bullet+ BOSCH
bullet+ NPE
bullet+ Audio-technica
bullet+ TOA
bullet+ Sennheiser
bullet+ SHURE
bullet+ NTS
bullet+ SHERMAN
bullet+ YAMAHA
bullet+ DECCON
bullet+ BIK , XXL Power
bullet+ YANMAI
bullet+ Podium (โพเดี้ยม)
bullet+ TOA
bullet+ JEC
bullet+ SHOW
bullet+ TOA
bullet+ OKAYO
bullet+ Mipro
bullet+ SONY-Mini-HiFi
bullet+ CREATIVE SPEAKER
bullet + Switcher VGA HDMI
bullet+ SCREEN (จอภาพ)
bullet+ Projector (เครื่องฉายภาพ)
bullet+ Attenuator,Volume
bullet++ TOA Volume,Attenuator
bullet++ BOSCH Volume,Attenuator
bullet+ Zone Selector
bullet+ Weekly Program Timer
bullet+ Digital IP Network
bullet+ Interface-Monitor-Signal
bullet+ Measurement (เครื่องมือวัด)
bullet+ UPS ( เครื่องสำรองไฟฟ้า )
bullet+ Headphone (หูฟัง)
bullet+ DVD,CD,TUNER
bullet+ speaker Stand(ขาตั้งลำโพง)
bullet+ CABLE (สายไฟ,สายสัญญาณ)
bullet+ Connector (หัวแจ๊ค,ขั้วต่อ)
bullet+ Rack - Case
bulletKARAOKE




ชุดเครื่องเสียงแบบไหนถูกใจเหล่ามือโปร

ชุดเครื่องเสียงแบบไหนถูกใจเหล่ามือโปร

เคล็ด(ไม่)ลับกับการเลือกใช้ชุดเครื่องเสียงของระดับมืออาชีพ 

 

ชุดเครื่องเสียง
 
 

ความสนุกและความบันเทิงหากปราศจากเสียงดนตรี และเสียงเพลงก็เหมือนปลาที่ขาดน้ำ เสียงเพลง และเสียงดนตรี เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่จะช่วยสร้างสีสันให้กับงานพิเศษต่างๆ ตั้งแต่งานเล็กๆเป็นส่วนตัว เช่น งานวันเกิด งานครบรอบวันแต่งงาน ไปจนถึงงานพิเศษใหญ่ๆที่จัดในเทศกาลต่างๆ เพื่อให้คนจำนวนมากมาร่วมงาน เช่น เทศกาลปีใหม่ งานสงกรานต์ไปจนถึงงานคอนเสิร์ต แน่นอนว่าสิ่งที่จะขาดไม่ได้นั้นคือ ชุดเครื่องเสียง


ชุดเครื่องเสียง เพื่อขยายกำลังของเสียงที่มีระดับความดังน้อยหรือสัญญาณทางไฟฟ้าต่ำ ให้มีสัญญาณทางไฟฟ้าที่สูงขึ้นให้มีเสียงที่ดังเหมาะสมที่ออกจากลำโพง ตู้ลำโพง (Speakers) เปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าที่ได้มาจากเพาเวอร์แอมป์เป็นสัญญาณเสียง มิกเซอร์ (Mixer) เป็นอุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์สัญญาณเสียงชนิดต่างๆ เช่น ไมโครโฟน เครื่องดนตรี เพื่อปรับแต่งสัญญาณเสียงให้มีความเหมาะสม ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์ที่แปลงคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าและจะถูกส่งผ่านสายนำสัญญาณไปสู่อุปกรณ์ขยายเสียงกลายเป็นรูปแบบเสียง โดยไมโครโฟนมีสองลักษณะคือ ไมโครโฟนแบบมีสาย และไมโครโฟนไร้สาย 


หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าเสียงดนตรี และเสียงเพลงที่เกิดขึ้นในงานแต่ละงานทำไมมีเสียงที่แตกต่างกัน เช่น ความดังของเสียง ความคมชัดของเสียง ความกลมกลืน หรือความก้องกังวานของเสียงและดนตรี ซึ่งความแตกต่างของเสียงเหล่านี้เกิดจากการคัดสรรชุดเครื่องเสียงจากวิศวกรเสียง (Sound Engineer) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และชำนาญในเรื่องของเสียง จะคัดเลือกชุดเครื่องเสียงที่มีคุณภาพและเหมาะกับการใช้งานให้ออกมาตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะงานที่เป็นงานใหญ่ๆ หรืองานเสียงที่ต้องมีรายละเอียดที่ซับซ้อน เช่น งานคอนเสิร์ต งานอีเว้นท์ งานแสดงสินค้า งานบันทึกเสียงในห้องอัดเสียง ต้องใช้วิศวกรเสียง (Sound Engineer) ที่มีประสบการ์ณที่สูงและมีความเป็นมืออาชีพในการเนรมิตงานเสียงให้เป็นไปตามที่คิดไว้ 


ดังนั้นชุดเครื่องเสียงหรืออุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ในงานระดับมหาชนจึงต้องมีความพิเศษและมีคุณภาพที่เหนือกว่าชุดเครื่องเสียงที่ใช้สำหรับงานระดับบุคคลทั่วไป เพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพและตรงตามต้นฉบับให้มากที่สุด 


เทคนิคเลือกชุดเครื่องเสียงคุณภาพที่ระดับมืออาชีพเลือกใช้

1. เพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) เป็นอุปกรณ์หลักของระบบเสียงเป็นเหมือนเครื่องยนต์ที่ขยายสัญญาณของเสียงให้มีพลังมากพอที่จะทำให้ลำโพงมีเสียงได้ กำลังของเพาเวอร์แอมป์นับเป็น วัตต์ ยิ่งมีค่าวัตต์สูงยิ่งทำให้เสียงมีกำลังมาก หลักในการเลือกใช้เพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) สำหรับใช้งานของมืออาชีพมีดังนี้


เสียงรบกวนยิ่งน้อย ความชัดเจนของเสียงยิ่งมาก หนึ่งในคุณสมบัติที่ดีของเพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier)คือการลดเสียงรบกวน ซึ่งเสียงรบกวนในเพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) เรียกว่า SNR (Signal To Noise Ratio) คือค่าอัตราส่วนระหว่างสัญญาณกับสัญญาณรบกวน มีหน่วยเป็น dB (เดซิเบล) ยิ่ง dB มากเท่าไรความชัดเจนของเสียงจะชัดเจนมากขึ้นตามตัวเลขของ dB เพราะตัวเลขที่มากแสดงถึงระยะห่างระหว่างสัญญาณเสียงและสัญญาณเสียงรบกวนที่ห่างกันมาก ทำให้เสียงออกมามีความชัดเจนและทำให้เราเข้าถึงเพลงและดนตรีได้มากขึ้นเป็นการเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลง ซึ่งค่า SNR (Signal To Noise Ratio) สำหรับใช้งานควรจะมีค่ามากกว่า 70 dB ขึ้นไป 


ยิ่งหยุดการสั่นได้เร็ว เสียงจะยิ่งคมชัด

Damping Factor ตัวย่อที่เราใช้เรียกกันคือ DF คือ ค่าความสามารถการหยุดดอกลำโพง หมายถึงเมื่อดอกลำโพงขยับ 1 ครั้งจะมีแรงสั่นทำให้เกิดเสียงต่อเนื่อง DF จะเป็นตัวทำให้ลำโพงหยุด ซึ่งหากค่าของ DF มีค่าที่สูงก็จะสามารถหยุดดอกลำโพงได้เร็ว และทำให้ได้เสียงที่มีความคมชัด โดยค่าของ DF จะอ้างอิงจากอัตราส่วนความต้านทานของลำโพงกับความต้านทานของขาออกของเพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) ซึ่งสำหรับดอกลำโพงเสียงแหลมและเสียงกลางจะไม่ค่อยได้ยินความคมชัดของเสียงที่แตกต่างเท่าไร แต่ถ้าเสียงต่ำจะได้ยินเสียงความคมชัดที่ชัดเจน ยกตัวอย่างแนวเพลงที่มีเสียงต่ำ เช่น เพลงร็อค หรือดนตรีแนวอีเล็กทรอนิกส์ ที่เน้นเสียงเบส ยิ่งเสียงต่ำมีพลังงานสูงๆ ต้องเลือกใช้ค่า DF ที่เยอะ เพื่อความคมชัดของเสียง แนวเพลงก็เป็นหนึ่งปัจจัยในการเลือกใช้โดยเพลงแนว POP หรือ Easy  listening ก็ต้องเลือก DF ที่มีค่าไม่เยอะ เพื่อให้ได้ทั้งความคมชัดและความไพเราะของเพลงควบคู่กัน ระดับค่า DF  ที่เหมาะระบบ PA ไม่ควรต่ำกว่า 100 


เสียงเพี้ยนควรเป็นศูนย์ 

ในเสียงเพลงหรือดนตรีไม่ควรมีเสียงเพี้ยน เพื่อความไพเราะของเสียง เพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) คืออุปกรณ์ในชุดเครื่องเสียงที่ใช้ควบคุมเสียงเพื้ยน ซึ่งเสียงเพี้ยนมีชื่อที่เรียกว่า Total Harmonic Distortion ตัวย่อคือ THD  เป็นค่าที่บ่งบอกค่าฮาร์โมนิคมีความเพี้ยนในระบบสัญญาณเสียงกี่เปอร์เซ็นต์โดยวัดเปอร์เซ็นต์เป็นตั้งแต่ 0-100%  ค่า THD เพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) ที่มีค่าตัวเลขของ THD ยิ่งน้อยเท่าไรยิ่งดีโดยค่าตัวเลขน้อยที่สุดคือ 0 หรือ 0% หมายถึงเสียงที่ได้ออกมาจะมีเสียงที่มีคุณภาพ และเป็นธรรมชาติ ตัวเลขที่มากที่สุดคือ 1.0 หรือ 100% จะมีความเพี้ยนในสัญญาณเสียงที่มาก ซึ่งโดยปกติแล้วเพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) ที่ใช้ในงานระบบ PA ควรมีค่า THD ไม่ควรเกิน 0.1% 

 

พลังขับเสียงของเพาเวอร์แอมป์ที่ดีควรเหมาะกับลำโพงที่เลือกใช้

เพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) จะมีค่ากำลังขับโดยรวมของเพาเวอร์แอมป์ โดยดูได้จากค่า RMS (Root Mean Square) เพาเวอร์แอมป์จะใช้งานคู่กับลำโพง ซึ่งการเลือกใช้เพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) ให้เหมาะกับลำโพง เราต้องเลือกเพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) ให้มีกำลังวัตต์ที่มากกว่า (Continuous Power หรือ RMS Power) ค่าวัตต์ของลำโพงและควรเลือกกำลังวัตต์สูงสุดไม่ควรเกินค่า (Peak Power) ของค่าวัตต์ลำโพง เพื่อความปลอดภัยของดอกลำโพงขณะใช้งาน และไม่ควรเลือกใช้เพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) ที่มีกำลังวัตต์น้อยกว่าลำโพง เพราะจะทำให้เสียงที่ออกมาไม่มีประสิทธิ และอาจทำให้เพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) และลำโพงเสียหายได้ 

 

2. ตู้ลำโพง (Speakers) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าที่ได้มาจากเพาเวอร์แอมป์เป็นสัญญาณเสียง โดยการเลือกใช้ตู้ลำโพง (Speakers) ต้องดูตามลักษณะงานที่จัดว่าจัดงานใน indoor หรือ outdoor พื้นที่ในการจัดงานใหญ่มากน้อยแค่ไหนจะได้เลือกขนาดตู้ลำโพง (Speakers) ได้ถูกต้องสิ่งสำคัญในการเลือกใช้คือต้องเลือกใช้ตู้ลำโพง (Speakers) ที่สอดคล้องกับการใช้งานของเพาเวอร์แอมป์ด้วย โดยสังเกตได้จากค่าวัตต์ ซึ่งเป็นค่าที่บอกว่าตู้ลำโพง (Speakers) สามารถรองรับกำลังจากเครื่องขยายเสียงได้มาก-น้อยแค่ไหน ถ้าค่าวัตต์สูงก็รองรับกำลังได้สูง ซึ่งตัวตู้ลำโพง (Speakers) จะมีลักษณะเป็นตู้หรือเราจะเรียกว่าตู้ลำโพง เพื่อให้เสียงที่ออกมามีคุณภาพและยังช่วยป้องกันดอกลำโพงไม่ให้เสียหาย


ตู้ลำโพงที่เหมาะกับงานมหาชนและเหล่าวิศวกรเสียงระดับมืออาชีพเลือกใช้จะเป็นตู้ลำโพงไลน์อาเรย์ ลักษณะการใช้งานจะแขวนตู้ลำโพงต่อๆกันหลายใบให้สูงเหนือศีรษะ เสียงที่ออกมาจากตู้ลำโพงไลน์อาเรย์จะมีความดัง ความชัดเจน เสียงพุ่งไกล แต่ควรใช้ตู้ลำโพงหลายๆใบเพราะการกระจายของเสียงค่อนข้างแคบ และมีเสียงความถี่กลางแหลม ควรใช้งานร่วมกับลำโพงวูฟเฟอร์ เพื่อเสริมความถี่ต่ำเพื่อเสียงที่ออกมามีคุณภาพของเสียงที่ครบถ้วนสมบูรณ์ 

 

3. มิกเซอร์ (Mixer) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกที่ใช้ในการผสมเสียง จัดระบบของเสียง รวมถึงปรับแต่งเสียง เปลี่ยนแปลงความดังของเสียง เช่น ในงานคอนเสิร์ตอาจจะมีไมโครโฟนที่ใช้หลายตัว พร้อมด้วยเครื่องดนตรีหลายชิ้น มิกเซอร์ (Mixer) เป็นอุปกรณ์ที่ผสมเสียงทั้งหมดให้ออกมามีคุณภาพเสียงที่ดีมีความบาลานซ์ของเสียง มิกเซอร์ (Mixer) สามารถผสมเสียงได้ทั้งสัญญาณเสียงแบบ อนาล็อก และแบบดิจิทัจ แต่ขึ้นอยู่กับชนิดของมิกเซอร์ (Mixer) มิกเซอร์ (Mixer) สามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น ห้องอัดเสียง, งานตัดต่อหนัง รวมถึงงานคอนเสิร์ตใหญ่ๆ หรืองานแสดงสินค้า ดังนั้นการเลือกใช้งานของมิกเซอร์ (Mixer)ต้องขึ้นกับลักษณะงานที่จัด แต่ก็มีหลักการในการเลือกใช้มิกเซอร์ (Mixer)เพื่อให้เราสามารถตีกรอบการเลือกใช้มิกเซอร์ (Mixer) ได้ คือมิกเซอร์ควรต้องมีช่องสัญญาณ In Put และ Out Put อย่างเพียงพอในการใช้ง่าย เพื่อรองรับอุปกรณ์ในชุดเครื่องเสียงต่างๆ ที่ต้องใช้งานร่วมกัน สำหรับมิกเซอร์ (Mixer) ระบบ PA ควรเลือกแบบที่สามารถส่งสัญญาณไปยังมอนิเตอร์บนเวทีได้ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่การใช้งาน

 

4. ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์ที่แปลงคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าและจะถูกส่งผ่านสายนำสัญญาณไปสู่อุปกรณ์ขยายเสียงกลายเป็นรูปแบบเสียง ซึ่งปัจจุบันไมโครโฟน (Microphone) ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่เป็นนิยมสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ร้องเพลง พิธีกร ไลฟ์สดขายสินค้า อัดเสียง ซึ่งไมโครโฟน (Microphone) ที่ใช้งานในแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันออกไป แต่ประเภทของไมโครโฟนที่เป็นที่นิยมในการใช้ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิด คือ 


ไมโครโฟนแบบไดนามิก (Dynamic) เป็นไมโครโฟน (Microphone) ที่ให้คุณภาพเสียงใกล้เคียงกับเสียงจริงที่สุด มีความคงทนสูง ใช้งานง่ายและสะดวก เหมาะกับงานทุกประเภท เช่นงานคอนเสิร์ต งานอีเว้นท์ 


ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์ (Condenser) เป็นไมโครโฟน (Microphone) ที่ไวในการรับเสียงเป็นพิเศษ ทำให้ได้เสียงที่ใส กังวาน มีความชัดเจน แต่ข้อเสียของไมโครโฟน (Microphone) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser) คือเกิดเสียงรบกวนได้ง่าย เนื่องจากรับเสียงได้ไว ไมโครโฟน (Microphone) ประเภทนี้จึงเหมาะกับงานประเภท บันทึกเสียง แต่ด้วยเทคโนโลยีได้ปรับให้ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์ (Condenser) มีไดอะแฟรมที่เล็กลงจึงเป็นที่นิยมในการใช้เป็นไมค์ประชุม ในงานการประชุม เช่น ไมค์หนีบ 


นอกจากประเภทของไมโครโฟน (Microphone) แล้วลักษณะการใช้งานของไมโครโฟน (Microphone) ยังมีความสะดวกสบายมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีได้พัฒนาและผลิตไมโครโฟนไร้สายออกมา เพื่อรองรับการใช้งานให้มีความสะดวกสบายและพกพาไปไหนมาไหนได้


การจะเลือกใช้ชุดเครื่องเสียงในหนึ่งงานต้องมีความรู้และประสบการณ์โดยเฉพาะในเรื่องทฤษฎีฟิสิกส์ทางด้านเสียง และไฟฟ้า เพราะเป็นความรู้พื้นฐานที่ต้องใช้ในการเลือกใช้ในอุปกรณ์ชุดเครื่องเสียงและการวางระบบงานเสียง 

 

Audio2home เรามีความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องเครื่องเสียง และยังเป็นตัวแทนจำหน่ายชุดเครื่องเสียงนำเข้า งานติดตั้งระบบเครื่องเสียงระดับมืออาชีพหลากหลายแบรนด์ชั้นนำ เช่น Mixer Yamaha, ลำโพง TOA, ลำโพง Bosch ยินดีให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลสินค้าในเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็นเพาเวอร์แอมป์, ตู้ลำโพง, ไมโครโฟนไร้สาย ไมค์ประชุม ที่รองรับงานที่ต้องใช้เครื่องเสียงในทุกประเภทเช่น งานห้องประชุม รวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องเสียงกลางแจ้ง ระบบเสียงประกาศ หรือเครื่องเสียงที่ใช้ในครัวเรือน หากสนใจสอบถามหรือสั่งซื้อสินค้า ให้โอกาส Audio2home เป็นผู้ช่วยของคุณในการจัดหาชุดเครื่องเสียงและอุปกรณ์เครื่องเสียงที่เหมาะกับการใช้งานของคุณอย่างที่คุณต้องการ

 


ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อรับโปรโมชั่นสุดพิเศษจากเราได้ที่

Tel : 02-996-4400, 02-107-5018, 081-642-1188

Email : sale@thetrons.co.th

LINE : @audio2home

Facebook : audio2home

 




บทความระบบเสียง

ประโยชน์ และข้อดีของตู้ลำโพง ที่คุณอาจไม่เคยรู้!
เทคนิคการเลือกชุดเครื่องเสียง ในราคาที่เหมาะสมกับการใช้งาน
ระบบเสียงประกาศ กับเรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้!
เทคนิคการใช้ Mixer YAMAHA อย่างมืออาชีพ
ข้อแตกต่างของชุดเครื่องเสียงห้องประชุมและชุดเครื่องเสียงกลางแจ้ง
รู้ก่อนซื้อ… เลือกโปรเจคเตอร์อย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน
ไมค์ประชุมมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีคุณภาพ และรูปแบบการรับเสียงอย่างไร
อัพเดตเทคโนโลยี ชุดเครื่องเสียง เจ๋ง ๆ ของยุคนี้!
พาส่องเทคโนโลยีใหม่ๆในเพาเวอร์แอมป์
เทคนิคการเลือกตู้ลำโพงให้ได้เสียงและคุณภาพที่ดี
ทำความรู้จัก ชุดเครื่องเสียง เบื้องต้นสำหรับมือใหม่
TOA Incentive Award 2017
เครื่องขยายเสียง (Amplifier) หนึ่งในชุดเครื่องเสียงสุดฮิต
การเข้าสายสัญญาณภาพ VGA
การเข้าสายสัญญาณ XLR,Jack1/4




Copyright © 2015 All Rights Reserved.