ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
ค้นหาสินค้า


  [Help]
dot
dot
รายการสินค้า
dot
dot
dot
+ SoundVision
bullet+ SoundVision
bullet+ QSC
bullet+ YAMAHA
bullet+ Behringer
bullet+ BOSCH
bullet+ TOA
bullet+ DBX
bullet+ Behringer
bullet+ DBX
bullet+ Behringer
bullet+ ORG
bullet+ Behringer
bullet+ DBX
bullet+ QSC
bullet+ YAMAHA
bullet+ BOSCH
bullet+ Behringer
bullet+ TOA
bullet+ INTER-M
bullet+ ITC Audio
bullet+ NPE
power mixer
bullet+ YAMAHA
bullet+ Behringer
bullet+ NPE
bullet+ TASCAM
bullet+ NPE
bullet+ TOA
bullet+ BOSCH
bullet+ ITC Audio
bullet+ TANNOY
bullet+ INTER-M
bullet+ BOSE
bullet+ TOA
bullet+ YAMAHA
bullet+ Behringer
bullet+ QSC
bullet+ PS Audio
bullet+ Tannoy
bullet+ ITC Audio
bullet+ QUEST
bullet+ BOSE
bullet+ Turbosound
bullet+ TOA
bullet+ INTER-M
bullet+ ITC Audio
bullet+ DIS
bullet+ BOSCH
bullet+ TOA
bullet+ Audio-technica
bullet+ SHURE
bullet+ Beyerdynamic
bullet+ Sennheiser
bullet+ RODE
bullet+ TOA
bullet+ BOSCH
bullet+ NPE
bullet+ Audio-technica
bullet+ TOA
bullet+ Sennheiser
bullet+ SHURE
bullet+ NTS
bullet+ SHERMAN
bullet+ YAMAHA
bullet+ DECCON
bullet+ BIK , XXL Power
bullet+ YANMAI
bullet+ Podium (โพเดี้ยม)
bullet+ TOA
bullet+ JEC
bullet+ SHOW
bullet+ TOA
bullet+ OKAYO
bullet+ Mipro
bullet+ SONY-Mini-HiFi
bullet+ CREATIVE SPEAKER
bullet + Switcher VGA HDMI
bullet+ SCREEN (จอภาพ)
bullet+ Projector (เครื่องฉายภาพ)
bullet+ Attenuator,Volume
bullet++ TOA Volume,Attenuator
bullet++ BOSCH Volume,Attenuator
bullet+ Zone Selector
bullet+ Weekly Program Timer
bullet+ Digital IP Network
bullet+ Interface-Monitor-Signal
bullet+ Measurement (เครื่องมือวัด)
bullet+ UPS ( เครื่องสำรองไฟฟ้า )
bullet+ Headphone (หูฟัง)
bullet+ DVD,CD,TUNER
bullet+ speaker Stand(ขาตั้งลำโพง)
bullet+ CABLE (สายไฟ,สายสัญญาณ)
bullet+ Connector (หัวแจ๊ค,ขั้วต่อ)
bullet+ Rack - Case
bulletKARAOKE




ทำความรู้จัก ชุดเครื่องเสียง เบื้องต้นสำหรับมือใหม่

ทำความรู้จัก ชุดเครื่องเสียง เบื้องต้นสำหรับมือใหม่

คู่มือวางแผนการเลือกซื้อชุดเครื่องเสียงให้ตรงใจคุณมากขึ้น

 

ชุดเครื่องเสียง

การทำความเข้าใจในเรื่องเสียง และชุดเครื่องเสียงเบื้องต้นเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ที่ชื่นชอบเพลง, คนที่ชอบดูหนัง, หรือเป็นผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในโลกในวงการที่ต้องใช้เครื่องเสียงตลอดเวลา เพิ่มคุณภาพในการฟัง และสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม

ในบทความนี้ Audio2home จะชวนมาทำความรู้จักกับชุดเครื่องเสียงประเภทต่าง ๆ อาทิ แอมปลิฟายเออร์, ตู้ลำโพง, มิกเซอร์, เพาเวอร์แอมป์, ระบบเสียงประกาศ ประเภทต่าง ๆ ทั้งไมโครโฟนไร้สายไมค์ประชุม โทรโข่ง และวิธีการปรับแต่งเครื่องเสียงให้เหมาะสมกับสไตล์การฟังเพลงของคุณ รวมถึงการเลือกชุดเครื่องเสียงที่เหมาะสมสำหรับบ้าน หรือสถานที่ที่คุณต้องการ เราจะไปสำรวจโลกของเสียง และปลดปล่อยประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่ของคุณในการฟังเพลง, ดูหนัง, และแวดวงการดนตรีกัน!

วันนี้เรารวบรวมข้อมูลดีๆเกี่ยวกับองค์ประกอบของชุดเครื่องเสียงแบบเบื้องต้น มาให้ผู้ที่กำลังสนใจจะเลือกซื้อชุดเครื่องเสียงได้ลองศึกษาทำความเข้าใจ เพื่อช่วยให้การวางแผนซื้อชุดเครื่องเสียงเป็นเรื่องง่ายและตรงใจคุณมากขึ้น 

 

ทำความรู้จักกับองค์ประกอบของชุดเครื่องเสียงแบบเบื้องต้น

เพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier)

เพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) หรือที่หลายๆคนรู้จักกันในชื่อของตัวขยายสัญญาณหรือเครื่องขยายเสียง คืออุปกรณ์ที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้ในชุดเครื่องเสียงทุกชุด เพราะเพาเวอร์แอมป์เหล่านี้มีหน้าที่สำคัญในการช่วยถอดรหัสและขยายสัญญาณเสียงจากแหล่งต้นกำเนิดเสียง (Source) อย่างเช่น เครื่องเล่นซีดี เครื่องเล่นแผ่นเสียง คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน รวมไปถึงไมโครโฟน / ไมโครโฟนไร้สาย และเครื่องดนตรีประเภทต่างๆให้มีกำลังที่มากพอที่จะทำให้เกิดเสียงดังออกมาจากตู้ลำโพงได้ 

 

เทคนิคการเลือกซื้อเพาเวอร์แอมป์สำหรับมือใหม่

ในการเลือกซื้อเพาเวอร์แอมป์มาใช้งาน ผู้ใช้งานทุกคนควรเลือกกำลังของเพาเวอร์แอมป์ให้มีความเหมาะสมกับขนาดและจำนวนของตู้ลำโพง โดยควรเลือกใช้งานเพาเวอร์แอมป์ที่มีกำลังวัตต์มากกว่าค่า Continuous Power หรือ RMS Power แต่ต้องไม่มากเกินกว่าค่า Peak Power ของตู้ลำโพง เพื่อเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ดอกลำโพงขาดจนส่งผลต่อคุณภาพของเสียงที่ดังออกมาจากตู้ลำโพงที่ด้อยลงไป และเพื่อเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เพาเวอร์แอมป์เกิดความร้อนสะสมในระหว่างการใช้งานจนอาจได้รับความเสียหายได้

ตู้ลำโพง

หากพูดถึงชุดเครื่องเสียง แน่นอนว่าจะขาดองค์ประกอบที่สำคัญอย่างตู้ลำโพงไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะตู้ลำโพงเหล่านี้เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่สำคัญในการเป็นตัวกลางเพื่อการช่วยถ่ายทอดและแสดงผลสัญญาณเสียงทั้งเสียงพูดและเสียงดนตรีที่ได้ออกมาจากไมโครโฟน รวมไปถึงอุปกรณ์ต้นกำเนิดเสียงประเภทต่างๆให้ปรากฎออกมาได้อย่างแม่นยำ ไม่ผิดเพี้ยน และให้เสียงที่เหมือนกับต้นฉบับมากที่สุด โดยสำหรับหลายๆท่านที่ชื่นชอบและเคยได้สัมผัสกับชุดเครื่องเสียงมาก่อนหน้านี้แล้วคงจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่า ตู้ลำโพงที่ถูกนำมาใช้งานร่วมกับชุดเครื่องเสียงนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ตู้ลำโพงแบบทั่วไปประเภทเดียว แต่ยังมีตู้ลำโพงมากถึง 5 ประเภทที่สามารถนำมาต่อพ่วงเข้ากับอุปกรณ์สำหรับชุดเครื่องเสียงและเครื่องดนตรีต่างๆ เพื่อเป็นการช่วยยกระดับประสบการณ์ในการใช้งานชุดเครื่องเสียงให้มีความโดดเด่นและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

 

ประเภทของตู้ลำโพง

ตู้ลำโพงฟูลเรนท์ (FullRange) เป็นตู้ลำโพงที่ได้รับความนิยมในการใช้งานเพื่อต่อพ่วงกับไมโครโฟนไร้สาย หรือเครื่องดนตรีประเภทต่างๆมากที่สุด เพราะตู้ลำโพงประเภทนี้สามารถตอบสนองต่อคลื่นความถี่ของเสียงในทุกช่วงเสียง โดยถึงแม้ว่าตู้ลำโพงฟูลเรนท์อาจจะไม่สามารถนำเสนอคลื่นความถี่ของเสียงแบบสูงสุดหรือต่ำสุดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับตู้ลำโพงประเภทอื่นๆ แต่ก็นับได้ว่าการใช้งานตู้ลำโพง ฟูลเรนท์สามารถนำเสนอคลื่นเสียงทั้งเสียงสูง - กลาง - ต่ำ ออกมาได้อย่างมีคุณภาพและครบจบภายในตัวเดียวอย่างแท้จริง

ตู้ลำโพงซับวูฟเฟอร์ (Subwoofer) เป็นตู้ลำโพงที่มีหน้าที่สำคัญในการช่วยถ่ายทอดคลื่นเสียงในย่านความถี่ต่ำ (Deep Low) ตั้งแต่ประมาณ 50 Hz ลงไป ที่ตู้ลำโพงหลักไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ ยกตัวอย่างเช่น เสียงเบส และเสียงกระเดื่อง เป็นต้น เพราะฉะนั้นแล้วเราจึงมักจะเห็นการใช้งานตู้ลำโพงซับวูฟเฟอร์ร่วมกับตู้ลำโพงแบบฟูลเรนท์เสมอ โดยอัตราส่วนและจำนวนของตู้ลำโพงที่นำมาใช้ต่อพ่วงนั้นส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับสไตล์ของดนตรีและประเภทของงานดนตรีที่ต้องการจะเล่นว่าเป็นงานแบบเปิดหรือเป็นคอนเสิร์ตในฮอลล์

ตู้ลำโพงมิดเรนจ์ (Mid Range) เป็นตู้ลำโพงที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับตู้ลำโพงซับวูฟเฟอร์ แต่ตู้ลำโพงมิดเรนจ์นั้นจะมีขนาดที่เล็กกว่า โดยทั่วไปแล้วตู้ลำโพง มิดเรนจ์จะเหมาะสำหรับนำมาใช้เพื่อตอบสนองความถี่เสียงในย่านเสียงกลางสูงระหว่าง 250 - 2,000 Hz หรือนำมาใช้สำหรับการช่วยขยายเสียงเครื่องดนตรี เสียงพูด หรือเสียงร้องที่ได้ออกมาจากไมโครโฟน เพราะตู้ลำโพงมิดเรนจ์สามารถนำเสนอเสียงเหล่านี้ออกมาได้อย่างไพเราะสมจริงมากที่สุด

ตู้ลำโพงทวีตเตอร์ (Tweeter) หรือตู้ลำโพงสำหรับขับเสียงแหลม เป็นตู้ลำโพงขนาดเล็กที่ถูกออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อคลื่นความถี่เสียงที่อยู่ในช่วง 2,000 - 20,000 Hz หรือคลื่นความถี่สูงสุดเท่าที่มนุษย์จะสามารถได้ยินได้โดยเฉพาะ ส่งผลให้โดยทั่วไปแล้วตู้ลำโพงทวีตเตอร์จึงมักจะถูกนำมาใช้งานร่วมกับตู้ลำโพงประเภทอื่นๆในชุดเครื่องเสียง เพื่อช่วยในการขับเสียงเบส เสียงกลาง รวมถึงเสียงร้องที่ได้จากไมโครโฟนออกมาได้อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ตู้ลำโพงโคแอกเซียล (COAXIAL) เป็นตู้ลำโพงสำหรับชุดเครื่องเสียงในระดับมืออาชีพที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้ดอกลำโพงในแต่ละช่วงความถี่ทั้งเสียงแหลม (Tweeter) และเสียงกลาง (Mid Range) มาอยู่ในแกนร่วมเดียวกัน เพราะฉะนั้นแล้วตู้ลำโพงโคแอกเซียลจึงสามารถช่วยนำเสนอคลื่นความถี่เสียงในช่วงต่างๆออกมาได้อย่างคลอบคลุมและน่าฟัง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถได้ยินเสียงร้องหรือเสียงของเครื่องดนตรีที่มีความชัดเจนและสมจริงมากยิ่งขึ้น

 

เทคนิคการเลือกซื้อตู้ลำโพง

สิ่งแรกที่ผู้ใช้งานควรเลือกพิจารณาเมื่อต้องการจะทำการเลือกซื้อตู้ลำโพงนั้น คือคุณภาพของเสียงที่ถูกถ่ายทอดออกมาจากตู้ลำโพง ซึ่งจำเป็นจะต้องมีระดับความสูง-ต่ำ ความใสกังวาน รวมถึงมีความละเอียดสูง และอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือการเลือกจำนวนของลำโพงมาใช้งานนั้นจะต้องมีความไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป และต้องเหมาะสมกับขนาดของห้อง เพื่อการช่วยเพิ่มอรรถรสที่ดีที่สุดในทุกการรับชมและรับฟัง

 

เครื่องปรับแต่งสัญญาณเสียง (Digital Signal Processor)

เครื่องปรับแต่งสัญญาณเสียง หรือที่หลายๆคนรู้จักกันในชื่อเรียกสั้นๆว่าเครื่อง DSP เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้การใช้งานชุดเครื่องเสียงเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเครื่อง DSP คือเครื่องปรับแต่งสัญญาณเสียงในระบบดิจิตอลที่ได้ทำการรวบรวมเครื่องปรับแต่งสัญญาณเสียงรูปแบบต่างๆมารวมเข้าไว้ด้วยกันมากมาย ดังนี้

 
Equalizer หรือ EQ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมและปรับแต่งความถี่ของเสียงให้อยู่ในโทนเบส กลาง แหลมได้ตามต้องการ และอีกรูปแบบการการใช้งาน เพื่อการปรับแต่งเสียง ตัดลดย่านความถี่เสียงที่ไม่ต้องการ ไม่พึงประสงค์ทำการลด (Cut) และหรือเพื่อชดเชยย่านความถี่เสียงที่น้อยไป โดยการเพิ่มความถี่ (Boost) ให้มีความพอดี และเหมาะสม จึงช่วยให้ได้คุณภาพเสียงที่ดี และไพเราะยิ่งขึ้น

Crossover เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลยในชุดเครื่องเสียงที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับหลายๆตู้ลำโพง เพื่อการช่วยจัดการและควบคุมการแบ่งย่านความถี่ของตู้ลำโพงแต่ละตัว

Compressor/ Expander/ Gate/ limiter เป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยในการปรับแต่งเสียงให้มีความหนา กลม และกระชับมากขึ้น รวมถึงยังมีหน้าที่ในการควบคุมและบีบอัดระดับเสียงให้มีความดังอยู่ในระดับที่กำหนดเอาไว้ เพื่อเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ดอกลำโพงเกิดความเสียหายในระหว่างการใช้งาน

Digital time-alignment หรือ Delay มีหน้าที่สำคัญในการช่วยหน่วงระยะห่างของลำโพง เพื่อช่วยให้เสียงที่ออกมาจากแหล่งต้นกำเนิดเสียงเดียวกันสามารถเดินทางมาถึง
ตู้ลำโพงแต่ละตัวที่ตั้งอยู่ในทิศทางที่แตกต่างกันได้แบบพร้อมๆกัน

Anti-Feedback Suppressor เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการช่วยป้องกันไม่ให้ไมโครโฟน / ไมโครโฟนไร้สายเกิดอาการหวีดหอนในระหว่างการใช้งาน ด้วยการช่วยลดย่านความถี่ที่ทำให้เกิดเสียงหวีดหอนในไมโครโฟน / ไมโครโฟนไร้สายโดยเฉพาะ

 

ก็จบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการองค์ประกอบของชุดเครื่องเสียงที่เรานำมาฝากทุกคนในวันนี้ หากคุณกำลังสนใจและอยากมองหาอุปกรณ์เพาเวอร์แอมป์ ตู้ลำโพง ไมโครโฟนไร้สาย ระบบเสียงประกาศ ไมค์ประชุม หรือชุดเครื่องเสียงคุณภาพอื่นๆ มาไว้ในครอบครอง ให้ Audio2home เป็นผู้ช่วยคุณในการจัดหาชุดเครื่องเสียงชั้นดีที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์และความชอบของคุณอย่างแท้จริง

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง

Tel : 02-996-4400, 02-107-5018, 081-642-1188
Email : sale@thetrons.co.th
LINE : @audio2home
Facebook : audio2home

 




บทความระบบเสียง

ประโยชน์ และข้อดีของตู้ลำโพง ที่คุณอาจไม่เคยรู้!
เทคนิคการเลือกชุดเครื่องเสียง ในราคาที่เหมาะสมกับการใช้งาน
ระบบเสียงประกาศ กับเรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้!
เทคนิคการใช้ Mixer YAMAHA อย่างมืออาชีพ
ข้อแตกต่างของชุดเครื่องเสียงห้องประชุมและชุดเครื่องเสียงกลางแจ้ง
รู้ก่อนซื้อ… เลือกโปรเจคเตอร์อย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน
ไมค์ประชุมมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีคุณภาพ และรูปแบบการรับเสียงอย่างไร
อัพเดตเทคโนโลยี ชุดเครื่องเสียง เจ๋ง ๆ ของยุคนี้!
พาส่องเทคโนโลยีใหม่ๆในเพาเวอร์แอมป์
เทคนิคการเลือกตู้ลำโพงให้ได้เสียงและคุณภาพที่ดี
ชุดเครื่องเสียงแบบไหนถูกใจเหล่ามือโปร
TOA Incentive Award 2017
เครื่องขยายเสียง (Amplifier) หนึ่งในชุดเครื่องเสียงสุดฮิต
การเข้าสายสัญญาณภาพ VGA
การเข้าสายสัญญาณ XLR,Jack1/4




Copyright © 2015 All Rights Reserved.